7. การวางแผนการตรวจสอบประจำปี (Audit Plan)

ผู้ปฏิบัติ ผู้อำนวยการตรวจสอบภายใน

มาตรฐานการปฏิบัติงาน

1. การวางแผนการตรวจสอบหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในต้องวางแผนการตรวจสอบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตามผลการประเมินความเสี่ยง เพื่อจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของกิจกรรมที่จะทำการตรวจสอบให้สอดคล้องกับเป้าหมายของส่วนราชการในการวางแผนการตรวจสอบด้วย
**การวางแผนการตรวจสอบตามผลการประเมินความเสี่ยง หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในต้องหารือร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการเพื่อทำความเข้าใจต่อยุทธศาสตร์ วัตถุประสงค์ที่สำคัญ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องและกระบวนการบริหารความเสี่ยง
2. หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน ต้องบริหารทรัพยากรให้มีความเหมาะสมเพียงพอ และเกิดประสิทธิผล เพื่อให้การปฏิบัติ
งานตรวจสอบภายในสามารถบรรลุผลตามแผนการตรวจสอบที่ได้รับอนุมัติ
**ในกรณีที่มีข้อจำกัดของทรัพยากร หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในต้องรายงานถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อแผนการ
ตรวจสอบด้วย
3. แผนการตรวจสอบภายในประจำปีต้องได้รับอนุมัติภายในเดือนกันยายน และส่งสำเนาแผนการตรวจสอบไปให้ สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจังหวัด รับทราบ
**การเสนอและอนุมัติแผนการตรวจสอบหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในต้องเสนอแผนการตรวจสอบและทรัพยากรที่จำเป็น
ในการปฏิบัติงาน รวมทั้งการปรับเปลี่ยนแผนการตรวจสอบในรอบปี ที่มีนัยสำคัญ ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาอนุมัติ
4. หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในต้องทบทวนและปรับแผนการตรวจสอบตามความจำเป็น เพื่อให้สามารถบริหารจัดการทัน
ต่อการเปลี่ยนแปลงของส่วนราชการ ได้แก่ ความเสี่ยง การปฏิบัติงาน โครงการระบบ และวิธีการควบคุมต่างๆ

วิธีปฏิบัติ / กิจกรรม

1. มีการวางแผนการตรวจสอบประจำปีงบประมาณ
1.1 นำผลการตรวจสอบของหน่วยตรวจสอบภายใน ที่ผ่านมา หรือผลการตรวจสอบ/ข้อสังเกตจากการตรวจสอบของหน่วยงานภายนอก มาวิเคราะห์ พิจารณา จัดลำดับความเสี่ยงเพื่อวางแผน
1.2 เสนอขอรับนโยบาย เพื่อวางแผนการตรวจสอบ จาก ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
1.3 นำผลการประเมินวิเคราะห์ความเสี่ยง จากการรายงานผลการควบคุมภายในของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียน มาพิจารณาจัดลำดับความเสี่ยงเพื่อวางแผน
1.4 นำนโยบายและแนวทางการวางแผนการตรวจสอบภายในภาครัฐของกรมบัญชีกลางและ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมาพิจารณาวางแผน
2. กำหนดหน่วยรับตรวจ ครอบคลุมทั้งระดับ สพท และสถานศึกษาและ ระบุขอบเขตการตรวจสอบ จำนวนหน่วยรับตรวจ ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ ทรัพยากรและงบประมาณที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
3. จัดทำแผนการตรวจสอบประจำปี เสนอเพื่อขออนุมัติต่อ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ภายในเดือนกันยายน
และส่งสำเนาแผนการตรวจสอบไปให้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
4. เสนอขอปรับ/เปลี่ยนแผนการตรวจสอบกรณีมีการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมการตรวจสอบ และสำเนาส่ง สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน